วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงจรบริดจ์



บริดจ์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC  Bridge)
         DC Bridge เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งมีค่าความถูกต้องสูง ประเภทที่ใช้ในปัจจุบัน  คือ วิทสโตนบริดจ์ ดังรูป

             Wheatstone Bridge
           วงจรภายในของเครื่องวัดชนิดนี้ ประกอบด้วย
          1.ตัวต้านทานที่ต่อขนานกัน 2 สาขา แต่ละสาขาประกอบด้วยตัวต้านทาน 2 ตัวต่อนุกรมกัน
          2.แหล่งจ่ายแรงดันไฟกระแสตรง(E)ต่อขนานกับตัวต้านทานของวงจรทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านตัวต้านทานในวงจร
          3. กัลวานอมิเตอร์ (G) ซึ่งต่อกับขั้วสายที่ขนานกัน ทำหน้าที่ตรวจจับ (detect) กระแสไฟฟ้าเพื่อบ่งบอกสภาพของวงจร ในกรณีที่วงจรบริดจ์สมดุลเข็มจะชี้ที่ศูนย์ แต่ถ้าไม่สมดุลเข็มจะเบี่ยงเบน


           บริดจ์แบบสมดุล
           (ฺBalance Bridge)
           ขณะที่บริดจ์อยู่ในสภาพสมดุล จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน กัลวานอมิเตอร์ทำให้เข็มของเครื่องวัดชี้ที่เลข 0
           ถ้าต้องการทราบค่าความต้านทาน R4 จะต้องสับสวิทช์ S1 และสวิทช์ S2 แล้วปรับอัตราส่วนของความต้านทาน R2/R1 (Ratio adjust) และความต้านทาน R3 จนกระทั่งกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรกัลวานอมิเตอร์มีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าบริดจ์อยู่ในสภาพสมดุล


               จากสภาพสมดุลของวงจรบริดจ์ (รูป 4-2 ) ทำให้ทราบว่าแรงดันไฟตกคร่อม Rและ R4 มีค่าเท่ากันตามสมการดังนี้
                                                     ..........(4-1)  
นอกจากนี้แรงดันไฟที่ตกคร่อม R1 และ R2 ยังมีค่าเท่ากันด้วย
                                                       ..........(4-2) 
ขณะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ (G) แสดงว่า
                       I1 =  I      
และ
                      I2 = I4
แทนค่า I3 ด้วย I1 และ I4 ด้วย I2   ในสมการ 4-1 จะได
                                                         ..........(4-3)   
หารสมการด้วย 4-2 ด้วยสมการ 4-3 จะได้
                                       
หรือ
                                                             ..........(4-4)    
ตัวอย่าง 4-1
            จงหาความต้านทาน RX จากวงจรในรูป 4-3 ขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์มีค่าเป็นศูนย์

วิธีทำ   จากสมการ 4-4
         

           บริดจ์แบบไม่สมดุล
            (Unbalance Bridge)

           ขณะที่บริดจ์อยู่ในสภาพไม่สมดุล จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ทำให้เข็มของเครื่องเบี่ยงเบนได้
           การเบี่ยงเบนของเข็มจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความไวของกัลวานอมิเตอร์ กล่าวคือ ถ้ากัลวานอมิเตอร์ 2 เครื่อง ในแต่ละเครื่องมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่ากันเข็มของกัลวานอมิเตอร์ที่มีความไวสูงกว่าจะเบี่ยงเบนมากกว่าเข็มของกัลวานอมิเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง

          การหาความไวของกัลวานอมิเตอร์ทำได้ 2 แบบ คือ หาค่าในรูประยะการเบี่ยงเบนของเข็มต่อจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน หรือมุมการเบี่ยงเบนของเข็มต่อจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ดังสมการต่อไปนี้
                          ..........(4-5)      
         ระยะการเบี่ยงเบนของเข็มหาได้จาก
                                                         ..........(4-6)     
         เมื่อ
         D = ระยะการเบี่ยงเบนของเข็ม (มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร)
         S = ความไวของกัลวานอมิเตอร์ (มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร/µA)
         Ig= กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ (มีหน่วยเป็น/ µA) 

        ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ (Ig) ที่แสดงภาพไม่สมดุลของวงจร หาได้โดยการนำทฤษฎีเทวินินมาร่วมวิเคราะห์ ดังนี้
        เมื่อปลดกัลวานอมิเตอร์ออกจากวงจร แรงดันไฟฟ้าเทียบเคียงเทวินิน คือ ผลต่างของแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว a และ b ดังนั้นเมื่อนำสมการแบ่งแรงดันไฟฟ้า (Voltage Divider) มาร่วมพิจารณาจะได้แรงดันไฟฟ้าที่จุด a มีค่าเป็นดังนี้
                                          ..........(4-7)       
         และแรงดันไฟฟ้าที่จุด b มีค่าเป็น
                                         
         ผลต่างของแรงดันไฟฟ้า Ea และ Eb คือแรงดันไฟฟ้าเทียบเคียงเทวินิน (ETh)
                                        ...........(4-8)       
                                    .......(4-9)       
         ความต้านทานเทียบเคียงเทวินิน (RTh) หาได้โดยลัดวงจรแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า (E) จะได้วงจรบริดจ์ใหม่ดังรูป4-5
         จากรูป 4-5 จะได้สมการความต้านทานเทียบเคียงเทวินินที่เกิดจาก

                                 RTh = (R1\\R3)+(R2\\R4)
          หรือ
                              ..........(4-10)          

           นำค่า ETh และ RTh มาเขียนวงจรเทียบเคียงเทวินินได้ดังรูป 4-6a
         ถ้าต่อกัลวานอมิเตอร์เข้าที่ขั้ว a และ b กระแสไฟฟ้าที่ทำให้เข็มเบี่ยงเบนมีค่าเป็น
                                                  ..........(4-11)         

          เมื่อ
          Rg = ความต้านทานของกัลวานอมิเตอร์

ตัวอย่าง  4-2
          จงหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ ขณะที่งวจร Wheatstone Bridge ในรูปที่ 4-7ิ อยู่ในสภาพไม่สมดุล และ Rx = 200 oHm

วิธีทำ        จากสมการ
             
จากสมการ 4-10
            
จากสมการ 4-11
            

     Wheatstone Bridge ที่มีความต้านทานแตกต่างกันเล็กน้อย          การหาค่าความต้านทานด้วย Wheatstone Bridge ทีได้กล่าวข้างต้นนั้น ความต้านทานแต่บะตัวในวงจรมีค่าแตกต่างกัน แต่ในกรณีนี้ ตัวต้านทาน 3 ใน 4 ตัว ที่อยู่ในวงจรมีค่าเท่ากัน (คือ R ในรูป 4-8 ) ส่วนความต้านทานตัวที่ 4 มีค่าความแตกต่างจากค่าความต้านทาน 3 ตัวแรกเพียงเล็กน้อย คือ 1-5%ในการหาค่าแรงกันไฟฟ้าและความต้านทานเทียบเคียงเทวินิน เรามักใช้ค่าโดยประมาณซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันกับค่าจริง ช่วยให้สมการของวงจรเทียบเคียงเทวินินสั้นและง่ายต่อการหาค่าต่าง ๆ ในวงจร เมื่อเทียบกับสมการ4-9 และ 4-10
สมมติว่าวงจรบริดจ์ในรูป 4-8 อยู่ในสภาพสมดุล ถ้านำกฏการแบ่งแรงดันไฟฟ้ามาร่วมพิจารณาจะได้สมการแรงดันไฟฟ้าที่จุด a เป็น
                                     ..........(4-12)       
แรงดันไฟฟ้าที่จุด b เป็น
                                              .......(4-13)      
แรงดันไฟฟ้าเทียบเคียงเทวินิน คือแรงดันไฟฟ้าที่เป็นผลต่างของแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว a และ b จะได้
                                                 ..........(4-14)     

ถ้า     มีค่าแตกต่างจาก R ไม่เกิน 5 % จะถือว่า     ซึ่งเป็นตัวหารย่อมมีค่าตำมากเมื่อเทียบกับ R และเพื่อให้สมการแรงดันไฟฟ้าของเทวินินง่ายยิ่งขึ้น จึงไม่คิดค่า    ทำให้ได้สมการดังนี้
                                                    ..........(4-15)      
หาค่าความต้านทานเทวินินโดยลัดวงจรแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า (E) จะได้วงจรบริดจ์ใหม่ดังรูป               
                             
จากรูป 4-9 สมการความต้านทานเทวินินเป็น
                                              ..........(4-16)       
เมื่อ    มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ R จะได้สมการโดยประมาณมีค่าเป็น
                                      ..........(4-17)       
นำค่า ETh และ RTh ที่ได้มาเขียนวงจรเทียบเคียงเทวินินจะได้ดังรูป 4-10
                            
ตัวอย่าง 4-3
            จงหาค่ากระแสที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ (Ig) ในรูป 4-11 เมื่อความต้านทานของกัลวานอมิเตอร์ (Rg) มีค่า 125 oHm และวงจรบริดจ์อยู่ในสภาพไม่สมดุล

                     
วิธีทำ        เมื่อพิจารณารูป 4-11 จะเห็นว่าความต้านทาน 3 ตัวมีค่าเท่ากัน ส่วนตัวที่ 4มีค่ามากกว่า 3 ตัวแรก ตรงตามเงื่อนไขในข้อ 4-1.4 ซึ่งใช้สมการ 4-15 หาค่าแรงดันไฟฟ้าดังนี้
                     
                จากสมการ 4-17
                      
                 หาค่ากระแสที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์ตามสมการ 4-11
                     
    Kelivin Bridge        ใน Wheaststone Bridge สายและขั้วต่อสายจะมีความต้านทานอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้น การนำ Wheatstone Bridge มาวัดค่าความต้านทานที่มีค่าต่ำ (ในช่วง 0.1 ถึง 100  ) จะทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดคลาดเคลื่อจากค่าความต้านทานที่แท้จริง เนื่องจากอัตราส่วนของความต้านทานที่ทไให้วงจรบริดจ์สมดุลจะรวมค่าความต้านทานของสายและขั้วต่อสายเข้าไป
                                    

         วิธีการลดผลกระทบจากความต้านทานของสายและขั้วต่อของสาย Wheatstone Bridge (   ในรูป4-12) ต่ออัตตราส่วนของวงจรบริดจ์ ทำได้โดยการนำเอาอัตตราส่วนความต้านทานอีกค่าหนึ่ง    เพิ่มต่อเข้าไปในวงจร Wheatstone Bridge (ดังรูป 4-12) เราเรียกวงจรบริดจ์ที่มีลักษณะดังกล่าวว่า Kelvin Bridge
ขณะที่ Kelvin Bridge อยู่ในสภาพสมดุล แสดงอัตตราส่วนของความต้านทานของวงจรคือ
                                             ..........(4-18)         
เมื่อนำกฏการแบ่งแรงดันไฟฟ้ามาพิจารณา Kelvin Bridge ในรูป 4-12 จะได้สมการแรงดันไฟฟ้าที่จุด A เป็น
                                          ..........(4-19 A)         
แรงดันไฟฟ้าจากจุด B ไปยังขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟฟ้าเป็นผลรวมของแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม Rx และ Rb เขียนสมการได้ดังนี้
                .........(4-19 B)          
ในกรณีที่วงจรบริดจ์สมดุล แรงดันไฟฟ้า VA = VB ดังนั้น
                ..........(4-19 C)          
จากการแก้สมการ 4-19C ทำให้ได้ค่าความต้าน Rx ที่ต้องการทราบดังนี้
                                .........(4-19 D)           

เมื่อวงจรบริดจ์สมดุลทำให้สมการ 4-19D มีค่าเป็น
                                                       ...........(4-19 E)         
นำมาเขียนใหม่ได้ดังนี้
                                                          ..........(4-19 F)         
ดังนั้นเมื่อ Kelvin Bridge สมดุลอาจกล่าวได้ว่า
                                                     ..........(4-20)         
ตัวอย่าง 4-4
            จงหาค่า Rx ในรูป 4-12 เมื่อัตราส่วนความต้านทาน Rb/Ra = 1/1000, R1 = 5 oHm และ R1 = 0.5 R2

วิธีทำ     จากสมการ 4-20
         
           เมื่อ R1 = 0.5 R2 จึงหาค่า R2 ได้ดังนี้ 
            
     วงจรควบคุมที่อาศัยหลักการของบริดจ์
      (Bridge Controlled Circuit)

          เราทราบว่า ขณะที่วงจรบริดจ์ไม่สมดุลจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกะลวานอมิเตอร์ จากหลักการนี้จึงนำวงจรบริดจ์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือผลิตชิ้นงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้



           ตัวต้านทาน Rในรูป 4-13 มีคุณสมบัติเฉพาะคือ มมีความไวต่อค่าพารามิเตอร์ทางกายภาพเช่น ความร้อน หรือ แสงสว่าง เป็นต้น (ตัวต้านทานที่มีความไวต่ออุณหภูมิเรียกว่า Thermistors ส่วนตัวต้านที่ไวต่อแสงสว่างคือ Photoristors) ในกรณีที่ Rทำให้วงจรบริดจ์สมดุล ค่าสัญญาณความคลาดเคลื่อน (Error Signal) ซึ่งอยู่ในรูป Error Voltage จะมีค่าเป็นศูนย์ แต่ได้ค่าพารามอเตอร์และค่า Rv เปลี่ยนแปลง ทำให้วงจรบริดจ์ไม่สมดุล จึงเกิด Error Voltage ได้ Error Voltage จะได้รับการขยายเพื่อเข้าไปควบคุมหรือสั่งการให้เครื่องมือทำงานตามเงื่อนไขที่ทางโรงงานกำหนด
            จากคุณสมบัติของวงจรบริดจ์ที่แสดงมนหัวข้อ 1-1.4  กล่าวถึงกรณีที่ความต้านทาน 3 ตัวของวงจรเท่ากัน และตัวต้านทานที่ 4 มีค่าแตกต่างจากค่าความต้านทาน 3 ตัวแรกไม่เกิน 5% ถ้าวงจรควบคุมมีลักษณะดังกล่าว คือ ความเปลี่ยนแปลงของความต้านทาน Rv ที่ทำให้เกิด Error Signal มีค่าไม่เกิน 5% ของความต้านทานที่เหลือ จะใช้สมการ 4-15 ประกอบในการหาค่า Error Signal (es) ได้ดังนี้

                                              ..........(4-21)             

แต่ในกรณีที่ Rv มีค่าแตกต่างจาก R1,R2 และ R3 เกิน 5% การหาค่า Error Signal จะต้องใช้สมการ 4-9 นั่นคือ
                                 ...........(4-22)             
ตัวอย่าง 4-5
            วงจรในรูป 4-14 ประกอบด้วยความต้านทาน Rv ที่มีคุณสมบัติไวต่ออุณหภูมิ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทาน Rv กับอุณหภูมิแสดงไว้ในกราฟตามรูป 4-15 จงหาค่าต่อไปนี้
            (a) ปริมาณอุณหภูมิที่ทำให้วงจรบริดจ์สมดุล
            (b) ขนาดของ Error signal ที่อุณหภูมิ 60° C

วิธีทำ            (a) จากสมการ 4-19 E
                       
                     นำค่า Rv = 5 k มาอ่านกราฟในรูป 4-15 ทำมห้ทราบว่าบริดจ์อยู่ในสภาวะสมดุลที่อุณหภูมิ 80°C
                 (b) นำค่าอุณหภูมิ 60°C มาอ่านกราฟในรูป 4-15 ได้ความต้านทาน Rv = 4.5 K จึงหาค่า Error signal (es) ได้ตามสมการ 4-22
                       
                    กรณีหา es จากสมการ 4-21
                      
                          เมื่อ
                         ดังนั้น
     การนำบริดจ์ไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้งาน
           บริดจ์นำมาใช้ในการวัดและการควบคุมการผลิจชิ้นงานทางด้านอุตสาหกรรมได้มากมาย เช่น นำ Wheatstone Bridge มาใช้วัดความต้านทานในลวดประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคุณภาพของตัวเส้นลวด หรืออุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเส้นลวด ได้แก่ การวัดค่าความต้านทานของขดลวดพันมอเตอร์, หม้อแปลงไฟฟ้าม ขดลวด Solenoids และขดลวดรีเรย์เป็นต้น


             ในวงจรรูป 4-16 เป็นวงจรบริดจ์ที่ใช้ในการควบคุมความร้อนแบบพื้นฐาน (Basic Bridge Controlled Heater Circuit) มีหลักการทำงานคือ ขณะอุณภูมือยู่ในสภาพตามต้องการ Thermistor จะมีค่าความเท่ากับ R และวงจรบริดจ์อยู่ในสภาพสมดุล ดังนั้นจึงไม่มี Error Signal อยู่ในรูปของ Error Votlage เข้าไปในแอสทรานซิสเตอร์ Q1 และไม่มีกระแสไฟ้าไหลผ่าน Heater
             ถ้าอุณหภูมิของ Thermistor ลดลงทำให้เกิดความต้านทานของ Thermistor ลดลงไม่เท่ากับ R อีกต่อไป ดังนั้นวงจรบริดจ์จึงไม่สมดุล จึงทำให้เกิด Error Voltage ซึ่งภายหลังได้รับการขยายด้วย Amplifier ให้มีขนาดมากพอที่จะไบแอส Q1 ให้ทำงานได้ ดังนั้นจึงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Heater ส่งผลทำให้อุณหภูมิและความค้านทานของ Thermistor มีมากขึ้น จนกระทั่งความต้านทานมีค่าเท่ากับ R วงจรจะออยู่ในสภาพสมดุลอีกครั้งหนึ่ง Error Signal หมดไปเนื่องจาก Q1 หยุดทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น