วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เซนเซอร์


เซนเซอร์รูปภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซนเซอร์ CCD บนแผงวงจรแบบยืดหยุ่น
เซนเซอร์รูปภาพบนแผงวงจรหลักของกล้อง Nikon Coolpix L2 6 เมกกะพิกเซล
เซนเซอร์รูปภาพ (อังกฤษimage sensor) คืออุปกรณ์ที่แปลงภาพที่เห็นด้วยตาเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยมากแล้วจะเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับภาพอื่นๆ เซนเซอร์ในยุคแรกๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นกระบอกกล้องวีดิทัศน์ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นอุปกรณ์ถ่ายเทประจุหรือเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง (charge-coupled device - CCD) แบบกึ่งตัวนำเมทัลอ็อกไซด์ควบเสริม (complementary metal-oxide-semiconductor - CMOS)

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ข้อแตกต่างระหว่าง CCD และ CMOS

กล้องดิจิตอลในปัจจุบันมักใช้เซนเซอร์รูปภาพแบบ CCD หรือ CMOS ซึ่งทั้งสองประเภทสามารถตรวจจับแสงและแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิคได้เหมือนกัน แต่เทคโนโลยีเซนเซอร์ CCD มีมานานกว่าและแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเซนเซอร์รูปภาพที่ครองตลาดสำหรับผู้บริโภค โดย CCD เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1993 และพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่ง CMOS เริ่มมามีส่วนแบ่งตลาดและเกือบจะทดแทนเทคโนโลยี CCD ในปี 2008 [1]
เซนเซอร์แบบ CCD มีลักษณะเป็นอุปกรณ์อนาล็อก ประกอบไปด้วยหลอดโฟโต้ไดโอดทำด้วยซิลิคอน เมื่อแสงตกกระทบตัวชิปแล้วจะถูกเก็บไว้เป็นประจุอิเล็กโทรนิกปริมาณน้อยๆ ในตัวเซนเซอร์ ซึ่งประจุเหล่านี้จะถูกแปลงไปเป็นแรงดันไฟฟ้าทีละหนึ่งพิกเซลขณะที่ถูกอ่านจากตัวชิป จากนั้นกระแสไฟในตัวกล้องจะแปลงแรงดันไฟฟ้านี้ไปเป็นข้อมูลดิจิตอลอีกทีหนึ่ง
ชิปแบบ CMOS มีลักษณะเป็นเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง ที่สร้างโดยกระบวนการประจุกึ่งตัวนำสำหรับ CMOS ซึ่งจะมีแผงวงจรเพิ่มขึ้นมาข้างเซนเซอร์ภาพเพื่อแปลงพลังงานแสงเป็นแรงดันไฟฟ้า จากนั้นแผงวงจรเสริมบนตัวชิปก็จะแปลงแรงดันไฟฟ้านั้นเป็นข้อมูลดิจิตอลได้ทันที
เทคโนโลยีทั้งสองแบบไม่ได้มีข้อได้เปรียบที่ชัดเจนในด้านคุณภาพของภาพ ในด้านหนึ่ง เซนเซอร์แบบ CCD จะมีโอกาสเกิดรอยเปื้อนแนวยาวจากแหล่งแสงที่สว่างจ้าได้ยามที่ตัวเซนเซอร์ถูกใช้งานอย่างหนัก แต่อุปกรณ์ถ่ายเทประจุระดับสูงจะไม่ประสบปัญญานี้ ส่วนเซนเซอร์ CMOS ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากชัตเตอร์แบบหมุนได้มากกว่า
การประยุกต์ใช้เซนเซอร์ CMOS สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ประกอบที่น้อยกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า และสามารถแสดงผลได้เร็วกว่า CCD ส่วนเซนเซอร์ CCD นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามายาวนานกว่าและเทียบเคียงได้กับ CMOS ในหลายๆ ด้าน[2][3] นอกจากนี้แล้ว ต้นทุนการผลิต CMOS ก็ต่ำกว่าเซนเซอร์ CMOS
สถาปัตยกรรมที่เป็นลูกผสมระหว่าง CCD และ CMOS มีชื่อว่า "sCMOS" โดยประกอบไปด้วยแผงวงจรรวมสำหรับอ่านผล CMOS (CMOS readout integrated circuits - ROICs) ที่เชื่อมต่อวัสดุซับสเตรทภาพ CCD ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวถูกพัฒนาเพื่ออุปกรณ์ตรวจจับภาพอินฟราเรดและในปัจจุบันได้นำมาปรับใช้กับเทคโนโลยีอุปกรณ์ตรวจจับที่มีซิลิคอนเป็นส่วนประกอบ อีกกรรมวิธีหนึ่ง จะใช้ระยะที่เล็กมากๆ ที่มีในเทคโนโลยี CMOS รุ่นใหม่ๆ ไปใช้กับโครงสร้างที่คล้ายกับ CCD ด้วยเทคโนโลยีของ CMOS ทั้งหมด หรือคือนำเทคโลโยีดิจิตอลไปใช้กับโครงสร้างอนาล็อก โดยวิธีนี้จะใช้การแยกประตูโพลีซิลิคอนแต่ละช่องด้วยระยะที่เล็กมากๆ เซนเซอร์เหล่านี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนวิจัยและพัฒนา และจะสามารถผนวกเอาศักยภาพต่างๆ ของทั้ง CCD และ CMOS เข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ นับแต่ปี 2006 ทางบริษัทผู้ผลิตเซนเซอร์ Panasonic ยังได้พัฒนาเซนเซอร์ที่เรียกว่า Live-MOS โดยใช้เทคโนโลยี MOS ซึ่งให้ภาพคุณภาพสูงแต่กินพลังงานน้อยกว่า CCD เนื่องจากในแต่ละพิกเซลจะมีส่วนเชื่อมต่อที่น้อยลง ภาพที่ได้จะเสมือนส่งผ่านให้ชมแบบ "ทันที" (live) แม้จะไม่ได้ใช้กรรมวิธีการแปลงแบบดั้งเดิมในเซนเซอร์ CCD

[แก้]ประสิทธิภาพ

ฟิลเตอร์กันรังสีอินฟราเรด ถอดจากกล้อง Canon EOS 350D
ตัววัดประสิทธิภาพเซนเซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายตัวที่สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของเซนเซอร์รูปภาพ เช่น ช่วงรายละเอียดแสง (dynamic range), สัดส่วนสัญญาณต่อคลื่นรบกวน (signal-to-noise ratio) เป็นต้น สำหรับตัวเซนเซอร์ประเภทที่เทียบเคียงกันได้นั้น ช่วงรายละเอียดแสงและสัดส่วนดังกล่าวจะสูงขึ้นเมื่อขนาดเพิ่มมากขึ้น

[แก้]การแยกสี

ตัวอย่างการทำงานของปริซึ่มสองสี
เซนเซอร์ภาพโดยตัวมันเองแล้วมีลักษณะเป็น​ "ขาว-ดำ" เพื่อให้ตัวเซนเซอร์ส่งผ่านสี จึงต้องใช้กรรมวิธีการแยกสี ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท

[แก้]เซนเซอร์พร้อมตัวกรองโมเสก

พิกเซลภาพของเซนเซอร์จะจัดเรียงบนระนาบเดียว และแต่ละพิกเซลจะถูกครอบด้วยตัวกรองของแต่ละสี โดยการจัดวางตำแหน่งตัวกรองมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ตามความไวแสงและการคัดลอกสี ยิ่งความเร็วมากขึ้น สีที่ได้จะยิ่งผิดเพี้ยน
  • RGGB หรือ เซนเซอร์เบเยอร์ (Bayer sensor) มีต้นทุนต่ำและพบได้มากที่สุด เพราะเริ่มมีใช้แรกสุด จะใช้ตัวกรองสีที่ส่งผ่านแสงแดง, เขียว หรือน้ำเงินไปยังเซนเซอร์พิกเซลที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดช่องตารางซ้อนที่ไวต่อสีแดง, เขียว และน้ำเงิน ส่วนสีที่ขาดไปจะถูกผสมโดยใช้อัลกอริทึ่มแบบ demosaic ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลสีที่ได้จากการผสมแล้ว เทคนิคประเภทสุ่มคู่ตำแหน่งสีจะใช้กรรมวิธีแบบ piezo เพื่อขยับเซนเซอร์สีแบบขั้นพิกเซล เซนเซอร์เบเยอร์ยังมีตัวเซนเซอร์แสงด้านหลัง ที่แสงลอดเข้าไปตกกระทบซิลิคอนที่ไวต่อแสงจากด้านตรงข้ามกับตำแหน่งตัวต้านทานประจุและสายไฟ เพื่อให้ส่วนต่อเชื่อมเหล็กด้านตัวอุปกรณ์ไม่ไปบังแสง และประสิทธิภาพดีขึ้น[4][5]
  • RGBW มีความไวต่อแสงและระดับยอมรับการรับแสง (exposure latitude) มากกว่า (โดยปกติจะไวแสงในระดับ 1.5-2 และ 1 สต็อป) สำหรับเซนเซอร์ RGBW แบบพิเศษ ได้แก่ เซนเซอร์ RGBW ของบริษัทโกดัก
  • RGEB (แดง - เขียว - เขียวมรกต - น้ำเงิน)
  • CGMY (น้ำเงิน - เขียว - บานเย็น - เหลือง)

[แก้]เซนเซอร์พร้อมพิกเซลครบสี

เทคโนโลยีที่เพื่อให้แต่ละพิกเซลแยกแม่สีครบทั้งสามสี แบบแรกเริ่มมีวางจำหน่ายโดยบริษัทซิกม่า และแบบที่สองเริ่มมีปรากฏเป็นต้นแบบในช่วงกลางปี 2008

[แก้]เซนเซอร์โฟวีออน (Foveon) X3

เซนเซอร์ตรวจจับภาพของโฟวีออนใช้เซนเซอร์พิกเซลที่เรียงเป็น 3 ชั้น แดง, เขียว, แดง ทำการแยกแสงโดยอาศัยคุณสมบัติดูดซับแสงที่ไม่ขึ้นกับความยาวคลื่นของซิลิคอน เพื่อให้ทุกๆ ตำแหน่งสามารถรับสัมผัสช่องสีทั้งสามได้ทั้งหมด
เซนเซอร์ X3 มีใช้ในกล้องของซิกม่า

[แก้]เซนเซอร์ RGB ของนิคอน

นิคอน ได้จดสิทธิบัตรเซนเซอร์ไว้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2007[6] โดยตัวเซนเซอร์แยกแม่สีจะประกอบไปด้วยหลอดโฟโต้ไดโอดและเลนส์ย่อย (microlens) สามเลนส์ในแต่ละพิกเซล เลนส์ย่อยดังกล่าวจะส่งผ่านแสงไปยังกระจกสองสีบานแรก ซึ่งส่วนที่เป็นสีน้ำเงินจะผ่านกระจกไปตกกระทบกับตัวตรวจจับสีน้ำเงินเข้ม ส่วนสีเขียวและแดงจะสะท้อนไปยังกระจกบานที่สอง ซึ่งจะสะท้อนสีเขียวไปยังตัวตรวจจับสีเขียว และส่งผ่านสีแดงกับส่วนที่เป็นอินฟราเรดไปยังกระจกบานที่สาม กระจกบานนี้จะสะท้อนส่วนสีแดงไปยังตัวตรวจจับสีแดงและส่วนดูดซับคลื่นอินฟราเรด[7]
แม้ว่าตัวต้นแบบของเซนเซอร์นี้จะมีมาตั้งแต่ปี 2008 แต่สิทธิบัตรดังกล่าวดููจะยังไม่สามารถนำมาผลิตใช้งานในอนาคตอันใกล้เนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยี
หากเปรียบเทียบกับระบบแยกสีอื่นๆ ยกเว้นระบบสามเซนเซอร์แล้ว เทคโนโลยีนี้มีข้อได้เปรียบตรงที่ประสิทธิภาพการใช้แสง คิดเป็น 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับเซนเซอร์ RGBW และ 3 เท่าเมื่อเทียบกับเซนเซอร์ที่มีตัวกรองเบเยอร์ หากเทียบกับเซนเซอร์โฟวีออน X3 เทคโนโลยีนี้มีข้อได้เปรียบในเรื่องสี และหากเทียบกับระบบสามเซนเซอร์แล้ว ระบบนี้ใช้ประโยชน์จากกระจกและไม่จำเป็นต้องมีการจัดเรียงตำแหน่งระบบเลนส์ที่แม่นยำแบบ 3CCD[6]

[แก้]ระบบแยกสีสามเซนเซอร์

ระบบแยกสีสามเซนเซอร์ หรือที่เรียกว่า 3CCD ใช้เซนเซอร์รูปภาพแบบภินทนะ (discrete image sensor) สามตัว โดยแยกสีด้วยปริซึ่มสองสี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซนเซอร์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีราคาแพงกว่าเซนเซอร์เดี่ยว แสงจะลอดผ่านเข้ามาในตัวกล้อง และตกกระทบกับปริซึ่มคู่ ซึ่งทำหน้าที่แยกแสงออกเป็นแม่สีหลัก แดง, เขียว และน้ำเงิน โดยแต่ละลำแสงจะส่องผ่านไปยังเซนเซอร์ (โดยมากแล้วจะใช้ CCD จึงเป็นที่มาของชื่อ 3CCD) ทั้งนี้ ระบบการแยกสามสีนี้มักมีใช้ในกล้องถ่ายวีดิทัศน์ระดับกลางขึ้นไป

[แก้]ข้อได้เปรียบของระบบแยกสีสามเซนเซอร์เมื่อเทียบกับเซนเซอร์เดี่ยว

  • การส่งผ่านสีดีกว่า และไม่ประสบปัญหาลายลูกคลื่น (moire)
  • ความละเอียดภาพสูงกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องมีการกรองเพื่อจัดการลดลายลูกคลื่น
  • ไวต่อแสงกว่าและระดับจุดรบกวน (noise) ต่ำกว่า
  • สามารถปรับแต่งค่าตัวกรองให้กับแต่ละตัวเซนเซอร์ทำให้การแปลงค่าสีกับแหล่งแสงที่ไม่ปกติทำได้ดีกว่า

[แก้]ข้อเสียของระบบแยกสีสามเซนเซอร์เมื่อเทียบกับเซนเซอร์เดี่ยว

  • ขนาดที่ใหญ่กว่า
  • ระบบนี้ไม่สามารถใช้กับเลนส์ที่มีระยะโฟกัสสั้น
  • ปัญหาข้อมูลสี เนื่องจากระบบสามเซนเซอร์ต้องการการจัดเรียงตำแหน่งที่แม่นยำ ดังนั้นหากเซนเซอร์มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ได้ความละเอียดที่ครบถ้วน ก็จะยิ่งยากที่จะให้ได้ความแม่นยำดังกล่าว

[แก้]เซนเซอร์ที่ใช้ในกล้องดิจิทัล

ความกว้างความสูงอัตราส่วนลักษณะจำนวนพิกเซลจริงเมกกะพิกเซลตัวอย่างรุ่นกล้อง
3202404:3 aspect ratio76,8000.07ต้นแบบ Steven Sasson (1975)
6404804:3 aspect ratio307,2000.3Apple QuickTake 100 (1994)
8326084:3 aspect ratio505,8560.5Canon Powershot 600 (1996)
1,0247684:3 aspect ratio786,4320.8Olympus D-300L (1996)
1,2809604:3 aspect ratio1,228,8001.3Fujifilm DS-300 (1997)
1,2801,0245:41,310,7201.3Fujifilm MX-700, Fujifilm MX-1700 (1999), Leica Digilux (1998), Leica Digilux Zoom (2000)
1,6001,2004:3 aspect ratio1,920,0002Nikon Coolpix 950, Samsung GT-S3500
2,0121,3243:2 aspect ratio2,663,8882.74Nikon D1
2,0481,5364:3 aspect ratio3,145,7283Canon PowerShot A75, Nikon Coolpix 995
2,2721,7044:3 aspect ratio3,871,4884Olympus Stylus 410, Contax i4R (แม้ว่าจริงๆ แล้วเซนเซอร์ CCD มีขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2,272x2,272)
2,4641,6483:2 aspect ratio4,060,6724.1Canon EOS 1D
2,5601,9204:3 aspect ratio4,915,2005Olympus E-1, Sony Cyber-shot DSC-F707, Sony Cyber-shot DSC-F717
2,8162,1124:3 aspect ratio5,947,3925.9Olympus Stylus 600 Digital
3,0082,0003:2 aspect ratio6,016,0006Nikon D40, Nikon D50, Nikon D70, Pentax K100D
3,0722,0483:2 aspect ratio6,291,4566.3Canon EOS 10D, Canon EOS 300D
3,0722,3044:3 aspect ratio7,077,8887Olympus FE-210, Canon PowerShot A620
3,4562,3043:2 aspect ratio7,962,6248Canon EOS 350D
3,2642,4484:3 aspect ratio7,990,2728Olympus E-500, Olympus SP-350, Canon PowerShot A720 IS
3,5042,3363:2 aspect ratio8,185,3448.2Canon EOS 30D, Canon EOS-1D Mark II, Canon EOS-1D Mark II N
3,5202,3443:2 aspect ratio8,250,8808.25Canon EOS 20D
3,6482,7364:3 aspect ratio9,980,92810Olympus E-410, Olympus E-510, Panasonic Lumix DMC-FZ50, Fujifilm FinePix HS10
3,8722,5923:2 aspect ratio10,036,22410Nikon D40x, Nikon D60, Nikon D3000, Nikon D200, Nikon D80, Pentax K10D, Pentax K200D, Sony Alpha A100
3,8882,5923:2 aspect ratio10,077,69610.1Canon EOS 40D, Canon EOS 400D, Canon EOS 1000D
4,0642,7043:2 aspect ratio10,989,05611Canon EOS-1Ds
4,0003,0004:3 aspect ratio12,000,00012Canon Powershot G9, Fujifilm FinePix S200EXR, Nikon Coolpix L110
4,2562,8323:2 aspect ratio12,052,99212.1Nikon D3, Nikon D3S, Nikon D700, Fujifilm FinePix S5 Pro
4,2722,8483:2 aspect ratio12,166,65612.2Canon EOS 450D
4,0323,0244:3 aspect ratio12,192,76812.2Olympus PEN E-P1
4,2882,8483:2 aspect ratio12,212,22412.2Nikon D2Xs/D2X, Nikon D300, Nikon D90, Nikon D5000, Pentax K-x
4,9002,58016:912,642,00012.6RED ONE Mysterium
4,3682,9123:2 aspect ratio12,719,61612.7Canon EOS 5D
7,920 (2,640 × 3)1,7603:2 aspect ratio13,939,20013.9Sigma SD14, Sigma DP1 (ชั้นพิกเซล 3 ชั้น 4.7 เมกกะพิกเซลในแต่ละชั้น ในเซนเซอร์โฟวีออน X3)
4,6723,1043:2 aspect ratio14,501,88814.5Pentax K20D, Pentax K-7
4,7523,1683:2 aspect ratio15,054,33615.1Canon EOS 50D, Canon EOS 500D
4,9283,2623:2 aspect ratio16,075,13616.1Nikon D7000, Pentax K-5
4,9923,3283:2 aspect ratio16,613,37616.6Canon EOS-1Ds Mark II, Canon EOS-1D Mark IV
5,1843,4563:2 aspect ratio17,915,90417.9Canon EOS 7D, Canon EOS 60D, Canon EOS 600D, Canon EOS 550D
5,2703,5163:2 aspect ratio18,529,32018.5Leica M9
5,6163,7443:2 aspect ratio21,026,30421.0Canon EOS-1Ds Mark III, Canon EOS-5D Mark II
6,0484,0323:2 aspect ratio24,385,53624.4Sony α 850, Sony α 900, Nikon D3X
7,5005,0003:2 aspect ratio37,500,00037.5Leica S2
7,2125,1424:3 aspect ratio39,031,34439.0Hasselblad H3DII-39
7,2165,4124:3 aspect ratio39,052,99239.1Leica RCD100
7,2645,4404:3 aspect ratio39,516,16039.5Pentax 645D
7,3205,4844:3 aspect ratio40,142,88040.1Phase One IQ140
8,1766,1324:3 aspect ratio50,135,23250.1Hasselblad H3DII-50, Hasselblad H4D-50, Hasselblad H4D-200MS
11,2505,0009:456,250,00056.3Better Light 4000E-HS (เมื่อสแกน)
8,9566,7084:3 aspect ratio60,076,84860.1Hasselblad H4D-60
8,9846,7324:3 aspect ratio60,480,28860.5Phase One IQ160, Phase One P65+
10,3207,7524:3 aspect ratio80,000,64080Leaf Aptus-II 12, Leaf Aptus-II 12R
10,3287,7604:3 aspect ratio80,145,28080.1Phase One IQ180
9,3729,3721:187,834,38487.8Leica RC30
12,60010,5006:5132,300,000132.3Phase One PowerPhase FX/FX+ (เมื่อสแกน)
18,0008,0009:4144,000,000144Better Light 6000-HS/6000E-HS (เมื่อสแกน)
21,2507,50017:6159,375,000159.4Seitz 6x17 Digital (เมื่อสแกน)
16,352*12,264*4:3 aspect ratio200,540,928200.5Hasselblad H4D-200MS
18,00012,0003:2 aspect ratio216,000,000216Better Light Super 6K-HS (เมื่อสแกน)
24,00015,9902,400:1,599383,760,000383.8Better Light Super 8K-HS (เมื่อสแกน)
30,60013,6009:4416,160,000416.2Better Light Super 10K-HS (เมื่อสแกน)
62,8307,5006,283:750471,225,000471.2Seitz Roundshot D3 (เลนส์ 80 มม.) (เมื่อสแกน)
62,83013,5006,283:1,350848,205,000848.2Seitz Roundshot D3 (เลนส์ 110 มม.) (เมื่อสแกน)
38,00038,0001:11,444,000,0001,444Pan-STARRS PS1
157,00018,000157:182,826,000,0002,826Better Light 300 mm lens Digital (เมื่อสแกน)

[แก้]เซนเซอร์เฉพาะทาง

เซนเซอร์เฉพาะทางมีไว้สำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ เช่น ภาพตรวจจับความร้อน, การอัดภาพหลายช่วงคลื่น, กล้องส่องลำคอ, กล้องรังสีแกมม่า, เซนเซอร์สำหรับรังสีเอกซ์ และการใช้งานทางดาราศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำสูง

[แก้]บริษัทผู้ผลิต

บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่จำหน่ายเซนเซอร์รูปภาพ ได้แก่
  • Agilent
  • Aptina
  • Canesta
  • Canon
  • Cypress Semiconductor
  • Eastman Kodak
  • ESS Technology
  • Fuji
  • MagnaChip
  • Matsushita
  • Micron Technology
  • Mitsubishi
  • Nikon
  • OmniVision Technologies
  • PixArt Imaging
  • Pixim
  • Samsung
  • Sharp
  • Sony
  • STMicroelectronics
  • Toshiba
  • TowerJazz
  • TransChip
  • Trusight

[แก้]อ้างอิง

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น